top of page

การจัดการทางเดินหายใจในคนอ้วน ในการปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล


เป็นที่ทราบกันดีว่าจำนวนผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในประชากรทั่วโลก และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักนี้ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการรักษามากยิ่งขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากการที่ผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน(EMSS) และเจ้าหน้าที่ในห้องฉุกเฉิน(Emergency Room) ถ้วนทั่วทุกโรงพยาบาลที่มีความจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ในการรับมือกับสภาพด้านสุขภาพของประชาชนที่เป็นโรคอ้้วนโดยการปรับโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆขึ้นมาเป็นพิเศษ เช่น เปลเข็น(Wheeled Stretcher) และเปลของ CT Scanner ที่ต้องมีคุณสมบัติในการรองรับน้ำหนัก และมีทนทานมากขึ้น และสำหรับการดูแลและจัดการทางเดินหายใจของผู้ที่เป็นโรคอ้วนเป็นความท้าทายอย่างมาก รวมถึงภาวะ desaturation ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (ภาวะอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำ ซึ่งค่าออกซิเจนที่อ่านได้มีค่าน้อยกว่า 90% โดยเกิดขึ้นมากกว่า 3 นาที ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะพร่องออกซิเจน-Hypoxia) ความยากลำบากในการช่วยหายใจด้วยAMBU bag และศักยภาพที่มีความเปลี่ยนแปลงของเภสัชจนศาสตร์1 ในการใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยฉุกเฉินที่เป็นโรคอ้วนพบว่า 15 - 35% มีความยากลำบากในการใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการเปิดทางเดินหายใจในการปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล2

วิทยาการระบาด

โรคอ้วน(ผู้ที่มี BMI >30 kg/m2) มีการเพิ่มมากขึ้นถึง 30%2 ซึ่งโรคอ้วนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบต่างๆภายในร่างกาย และเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคปอดถูกจำกัดการขยายตัว(restrictive lung disease) ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ(obstructive sleep apnea) ภาวะความดันหลอดเลือดในปอดสูง(pulmonary hypertension) โรคข้ออักเสบ(arthritis) และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วนไม่ได้เข้ารับบริการที่แผนกฉุกเฉินมากกว่าคนที่ไม่อ้วน แต่เมื่อเกิดการบาดเจ็บผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีแนวโน้มสูงกว่าคนปกติที่จะโทร เพื่อขอรับการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน2

สรีรวิทยาทางเดินหายใจ

โรคอ้วนมีผลต่อสรีรวิทยาของทางเดินหายใจอย่างมาก เมื่อร่างกายเติบโตมากขึ้นร่างกายยิ่งมีการเผลาผลาญพลังงานมากขึ้นในขณะที่เนื้อเยื่อจำนวนมากที่ต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามปอดของคนอ้วนจะไม่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของร่างกายที่โตขึ้น: ในความจริงในทางกลับกันคนอ้วนกลับมีความจุปอดที่ลดลงซึ่งเกิดจากการลดลงของพื้นที่ทรวงอกและเช่นเดียวกันกับพื้นที่ของช่องท้องซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้กระบังลมทำงานได้อย่างจำกัด3 และกลไกนี้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายหรือไม่รู้สึกตัวซึ่งจะทำให้เกิดการลดลงของความจุส่วนเหลือใช้งาน(Function Residual Capacity) ซึ่งเป็นความจุปอดที่คิดเป็นปริมาตรของอากาศคงเหลืออยู่ในปอดหลังจากหายใจออกตามปกติ

ความจุส่วนเหลือใช้งาน(Function Residual Capacity) ซึ่งปกติจะเต็มไปด้วยออกซิเจนซึ่งจะเป็นอากาศสำรองเมื่อเมื่อผู้ป่วยหายใจช้า(hypoventilation) หรือการหยุดหายใจชั่วคราว(apneic) เช่น เมื่อเราให้ยานอนหลับและยาคลายกล้ามเนื้อในระหว่างการใส่ท่อช่วยหายใจแบบ RSI (rapid sequence intubation) ซึ่งในทางปฏิบัติผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเกิดภาวะ desaturation อย่างรวดเร็วซึ่งเมื่อเทียบกับคนปกติจะเกิดขึ้นเร็วแบบครึ่งต่อครึ่ง---- คนทั่วไป 6 นาที ถึงจะเกิด desaturation แต่ในคนอ้วนจะเหลือเพียงแค่ 3 นาที ก่อนจะเกิดภาวะ desaturation4