การวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉิน อุปสรรคในอดีต โอกาสในปัจจุบัน และรูปแบบใหม่แห่งอนาคต

"EMS เรายังขาดข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบในการดูแลรักษานอกโรงพยาบาลทั้งในผู้ป่วย และผู้ได้รับบาดเจ็บ"
"ถ้าเรานำแนวทางปฏบัติใหม่ๆมาใช้โดยปราศจากการวางแผนการประเมินผลลัพธ์ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ นั่นแสดงว่าถึงคราที่เราจะต้องพัฒนามาตรฐานการดูแลรักษา"
ประเทศไทยมีการช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้ยากไร้มาช้านาน แต่การเริ่มจัดการระบบ จัดตั้งองค์กรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน รวมไปถึงทำโครงสร้างให้สามารถดำเนินงานได้ในทุกระดับอย่างเป็นรูปแบบได้หลังจากมี พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 (สหรัฐอเมริกามีกฏหมายราวๆ พ.ศ.2480) ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น1 ในการช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉินโดยทั่วไปเราจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญที่การช่วยเหลือหลังจากเกิดเหตุการณ์ภายใน 30 นาทีแรกและวัดผลลัพธ์ของการดูแลรักษานั้นออกมาเพื่อปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน และในวันนี้เรามีเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (AEMT) จำนวนมากที่ยังไม่มีโอกาสก้าวเข้าไปศึกษาต่อในหลักสูตรของนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (PARAMEDIC) ทำให้เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์เหล่านั้น (AEMT) ศึกษาต่อในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์(ต่อเนื่อง 2 ปี) จึงทำให้ประเทศไทยมีผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ดูแลสุขภาพทั้งในส่วนปฏิบัติการฉุกเฉิน(EMO) การออกให้บริการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care) การติดตามผลการรักษาและการออกเยี่ยมบ้าน(Patient follow-up visits after hospitalization)
ในการปฏิบัติงานจริงเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์แทบทั้งหมดจะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้มีการนำศาสตร์และศิลป์ของการสาธารณสุขมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ฉุกเฉินเท่าที่ควรเนื่องจากผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มการพยาบาลไม่เล็งเห็นความสำคัญและบทบาทในการป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อเทียบกับการล้างแผลและการทำหัตถการในห้องฉุกเฉิน แต่ทั้งนี้ยังพอมีเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์บางส่วนที่โอนย้ายหรือได้บรรจุเข้าปฏิบัติงานใน รพสต. และ อปท. ซึ่งในการปฏิบัติงานสามารถใช้ศาสตร์และศิลป์เพื่อใช้ในการให้ความรู้ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุได้อย่างเต็มที่มากกว่าการปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
ปัจจุบันมีการผลิตผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์(EMTs) ทุกระดับอย่างต่อเนื่องและมากขึ้น ประกอบกับอำนาจ ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบต่อภาระงานยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่งาน EMS เรายังขาดข้อมูลและหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการดูแลรัก