top of page

ปัญหาในวงการ EMS นวัตกรรมใหม่ ประเด็นสำคัญในการประชุมวิชาการประจำปีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (USA)

ผลวิจัยพลิกโลกEMS จากการเปรียบเทียบผลลัพธ์การนำส่งโดย ALS vs BLS และนวัตกรรมทางการแพทย์ฉุกเฉินใหม่ๆ

 

การประชุมวิชาการวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินอเมริกา (2015 American College of Emergency Physicians : ACEP 2015) ได้รับความสนใจจากแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และผู้ปฏิบัติบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMTs) จากทั่วโลก ซึ่งงานในปีนี้จัดขึ้นที่บอสตันมีหัวข้อวิชาการมากมายและเวทีนี้มุ่งเน้นไปที่การแก้ใขปัญหาการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

การนำเสนอผลการวิจัยเปรียบเทียบผลลัพธ์อัตราการรอดชีวิตระหว่างการนำส่งด้วย ALS กับ BLS

ในต้นเดือนพฤจิกายนที่ผ่านมา Annals of Internal Medicine ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่อง "ผลลัพธ์ระหว่าง BLS กับ ALS ในการปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล" โดย Dr.Prachi Sanghavi ซึ่งได้สร้างความฮือฮาต่อวงการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นอย่างมาก ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ใช้ข้อมูลจาก Medicare ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสรุปว่าการนำส่งโดยชุดปฏิบัติการระดับ ALS ส่งผลให้ผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยฉุกเฉิน ทั้งในโรคหลอดเลือดสมอง การหายใจล้มเหลว มีอัตราการรอดชีวิตที่ 90 วันหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลลดลง เมื่อเทียบกับการนำส่งโดยชุดปฏิบัติการระดับ BLS

Dr.Prachi และคณะ ได้นำผลการวิจัยนี้นำเสนอในงาน ACEP 2015 โดยมีแพทย์และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ต่างกังวลผลการศึกษาที่ได้จากระเบียบวิธีการดำเนินวิจัยดังกล่าว (Methodology) (ซึ่งตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากฐานข้อมูลของ Medicare เท่านั้น แต่ข้อสรุปได้อ้างผลไปยังทุกการนำส่งของทีม ALS) และความสามารถในการแปรผลสู่ประชากรเป้าหมายของข้อมูล (Generalizability) รวมไปถึงตัวอย่างที่ศึกษามีความแตกต่างของอายุทำให้ยากที่จะสรุปผลลัพธ์อัตรารอดชีวิตในผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่แน่นอนว่าการนำเสนอการวิจัยครั้งนี้ ทำให้การ Discussion ในการประชุมปีนี้และปีถัดไปมีอรรถรสมากขึ้น