การประเมินผลการใช้ Telemedicine ในวินิจฉัยและการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนอกโรงพย

ที่มาและความสำคัญ
หน่วยอภิบาลโรคหลอดเลือดสมอง (Mobile stroke treatment units : MSTUs) พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ชีพ และนักประสาทวิทยา ที่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ในทันทีที่สามารถวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองโดยได้รับการอนุมัติปฏิบัติการแพทย์จากแพทย์อำนวยการปฏิบัติการผ่าน Telemedicine ด้วยศักยภาพเหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่กู้ชีพสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดนอกโรงพยาบาลได้เร็วกว่าในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
เพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือในการติดต่อสื่อสารในระยะไกลกับแพทย์อำนวยการปฏิบัติการด้วย Telemedicine ว่าเพียงพอต่อการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันผ่าน MSTUs หรือไม่?
วิธีการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ใช้รูปแบบ Prospective observational study ระยะเวลาระระหว่างการวิจัยคือ 18 กรกฏาคม 2014 - 1 พฤษจิกายน 2014 และระยะที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ 1 พฤจิกายน 2014 - 30 มีนาคม 2015 โดยศึกษาในเมือง Cleveland, Ohio ในการศึกษาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 100 คน ที่อาศัยอยู่ใน Cleveland ซึ่งมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ระหว่าง 2 โมงเช้า - 2 ทุ่ม หลังได้รับคำแนะนำผ่านโปรแกรมใน Cleveland Clinic ก่อนหน้านี้แล้ว
นักประสาทวิทยาและเจ้าหน้าที่กู้ชีพประเมินผู้ป่วยจำนวน 100 คน โดยมีรังสีแพทย์ประสาท (neuroradiologist) เป็นคนวินิจฉัยโดยยืนยันจากผล CT (Mobile CT), ข้อมูลผู้ป่วย, เวชระเบียน ผ่าน Telemedicine
ตัววัดหลักของผลลัพธ์
จากการศึกษาเปรียบเทียบหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการประเมินผลและการให้ยารักษาผู้ป่วยบน MSTUs กับกลุ่มควมคุมที่ได้รับการประเมินและมาด้วยรถปฏิบัติการฉุกเฉิน (AMBULANCE) และได้รับยาละลายลิ่มเลือดในแผนกฉุกเฉิน (ED) ในปีที่ผ่านมาโดยการทบทวนข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในระบบเวชระเบียน
ผลลัพธ์
ผู้ป่วย 99 ใน 100 คนได้รับการประเมินจนเสร็จสิ้นกระบวนการวินิจฉัย โดยระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้คือ 20 นาที (interquartile range [IQR], 14-27 นาที) มีเพียงหนึ่งครั้งที่ผู้ป่วยไม่ได้รับตรวจประเมินผ่าน telemedicine จากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่กู้ชีพและผู้ป่วยได้รับการนำส่งไปยังแผนกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด ระหว่างการศึกษามีการขาดการเชื่อมต่อ 6 ครั้ง ในแต่ละครั้งที่ขาดการติดต่อกินระยะเวลาไม่เกิน 60 วินาที และผู้ป่วยไม่ได้รับกระ