ทำอย่างไรเมื่อเจอภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด - Tension Pneumothorax

การบาดเจ็บที่ทรวงอกถือเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยไม่ว่าจะมีสาเหตุจากการกระแทกโดยตรง หรือสาเหตุจากวัตถุมีคมทิ่มแทง เป็นสาเหตุการตาย 1 ใน 4 ของผู้ป่วยอุบัติเหตุทั้งหมด และในสถานการณ์สู้รบยังเป็นสาเหตุอันดับสองของการเสียชีวิตอีกด้วย1 อย่างไรก็ตามการรักษาการบาดเจ็บที่ทรวงอกส่วนใหญ่สามารถทำได้โดยการใส่สายระบายทรวงอก และในขณะที่ผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งยังจำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดรักษาที่ทันท่วงที การบาดเจ็บที่ทรวงอกที่อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้แก่
การอุดกั้นทางเดินหายใจ (Airway Obstruction)
ภาวะปอดถูกกดทับจากลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (Tension Pneumothorax)
ภาวะเลือดออกในช่องปอดปริมาณมาก (Massive Hemothorax)
ภาวะการกดทับของหัวใจ (Cardiac Tamponade)
แผลเปิดที่หน้าอก (Open Chest Wound)
ภาวะการทำงานล้มเหลวของซี่โครง (Fail Chest)
ในขณะเดียวกันการบาดเจ็บที่ช่องอกอาจมีการบาดเจ็บซับซ้อนที่อาจไม่แสดงอาการในช่วงแรก แต่มีความรุนแรงและอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในภายหลัง ได้แก่
การฟกช้ำของปอด (Pulmonary contustion)
การฉีกขาดของเส้นเลือกแดงใหญ่ (Aortic Disruption)
การฉีกขาดของหลอดลม (Tracheobronkchial disruption)
การบาดเจ็บของหลอดอาหาร (Esophageal contusion)
การบาดเจ็บของกระบังลม (Traumatic diaphragm rupture)
ในบทความนี้เราจะพูดถึงเฉพาะภาวะปอดถูกกดทับจากลมรั่วในช่องเยื