Rescue Task Forces กับ Tactical Medics ต่างกันอย่างไร

ตลอด 24 ชั่วโมง หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน (EMS) ทำหน้าที่ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน และนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาล ตั้งแต่เหตุการณ์เล็กๆ จนไปถึงภาวะที่มีภัยคุกคามต่อชีวิต ถึงแม้ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์จะได้รับการฝึกจนมีทักษะที่เชียวชาญในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล แต่เหตุการณ์ที่มีรุนแรงสูงเช่น เหตุกราดยิง (active shooter event) การช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน/ผู้บาดเจ็บ ยังคงต้องได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินด้วยผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินที่มีความสามารถและอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม เหมือนกับที่ตำรวจก็จะมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษระดับจังหวัด
ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เฉพาะทางที่จะสามารถเข้าถีงและช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
แนวคิดของ rescue task force และ tactical medic มีความเหมือนกันคือ ให้การช่วยชีวิต/แก้ใขภาวะคุกคามต่อชีวิตผู้บาดเจ็บ / ผู้ป่วยฉุกเฉิน จำนวนมากในเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ภาษาบ้านเราเรียกกันว่า "ซีนไม่เซ๊บ" และสิ่งที่เหมือนกันประการต่อมาคือ ทั้ง rescue task force และ tactical medic ต่างปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตามความแตกต่างอย่างชัดเจนของทั้ง rescue task force และ tactical medic คือ รูปแบบการดูแลรักษา และแนวทางปฏิบัติในการปฏิบัติการ (response protocol)
โดยมาก rescue task force คือการสนธิกำลังกันอย่างรวดเร็วเพื่อตอบโต้เหตุการณ์ระหว่าง 2 ถึง 5 หน่วยงาน ส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMS personnel) หน่วยดับเพลิง และ ตำรวจ แต่ tactical medic จะเป็นบุคลากรซึ่งเป็นหนึ่งในทีมปฏิบัติการพิเศษ เช่น SWAT
RESCUE TASK FORCE
ในอดีตที่ผ่านมาเมื่อมีเหตุกราดยิง ปัญหาในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจะมีความล่าช้าจากการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน และความล่าช้าในการเข้าถึงผู้บาดเจ็บเพื่อให้การดูแลรักษา และความล่าช้าเหล่านี้หมายถึงนาทีทองในการช่วยชีวิต (precious life-saving minutes) แต่ rescue task force คือ การประสานงานและจัดตั้งทีมปฏิบัติการฉุกเฉินฉับพลันภายใต้แนวทางปฏิบัติ เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าถึงผู้ได้รับบาดเจ็บ rescue task force จะ จัดลำดับความสำคัญในการช่วยเหลือ - แก้ไขภาวะคุกคามชีวิต - ช่วยออกจากสิ่งขวางกั้น และ ส่งต่อไปยังจุดรวบรวมผู้บาดเจ็บ (CCP) ก่อนนำส่งโรงพยาบาลต่อไป (prioritize stabilization, extrication and transport) ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการรักษาในภาวะอุบัติหมู่ (MCI) และสาธารณภัย (Disaster) ซึ่งจะทำการ Triage ก่อน
ในกรณีที่พื้นที่นั้นๆไม่มีการจัดตั้ง rescue task force ไว้ หน่วยงานต่างๆที่ปฏิบัติหน้าที่จะกำหนดว่าใครจะเป็นหัวหน้าทีมช่วยชีวิต และ เมื่อเหตุการณ์มีความปลอดภัยจึงจะส่งทีมรักษาเข้าไปดูแลผู้บาดเจ็บ - แต่ rescue task force จะมีการกำหนดว่าใครเป็นหัวหน้าทีมในแต่ละส่วน และสามารถเข้าปฏิบัติการฉุกเฉินใน warm zone ที่เคลีย์แล้วจาก contact team ในขณะที่เหตุการณ์ยังไม่จบเพื่อช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บและเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกมาได้อย่างรวดเร็ว และโดยทั่วไป rescue task force จะเป็นวิชาชีพ "ฉุกเฉินการแพทย์" ที่ผ่านการฝึกเฉพาะทางมา และมีคำสั่งในตารางเวรเพื่อ standby ไว้ในเหตุการณ์ที่มีการใช้อาวุธ หรือ ในเหตุการณ์ที่มีความรุนแรง
